ประวัติความเป็นมา

ลงวันที่ 14 ก.ย. 2567
ประวัติความเป็นมา

 ประวัติศาสตร์และความเป็นมา

ข้อมูลสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของตำบล

ตำบลท่าไม้ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2538  ภายหลังจากที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 111 ตอน 53 ก ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2537

        (1) ที่ตั้งของตำบลท่าไม้ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอกระทุ่มแบน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอกระทุ่มแบน ประมาณ 5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดสมุทรสาคร ประมาณ 18  กิโลเมตร   โดยมีถนนเศรษฐกิจ 1 เชื่อมระหว่างอำเภอกระทุ่มแบนและจังหวัดสมุทรสาคร  และมีแม่น้ำท่าจีนตัดผ่านตำบล

        (2) เนื้อที่ของตำบลท่าไม้   มีเนื้อที่ทั้งหมด  8.64  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,428 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

      ทิศเหนือ            จรดเทศบาลนครอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน  จังหวัดสมุทรสาครและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่  อำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม
      ทิศใต้                 จรดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน   อำเภอกระทุ่มแบน  จังหวัดสมุทรสาคร
      ทิศตะวันออก     จรดเทศบาลตำบลสวนหลวง  อำเภอกระทุ่มแบน  จังหวัดสมุทรสาคร
      ทิศตะวันตก       จรดองค์การบริหารส่วนตำบลบางยาง   อำเภอกระทุ่มแบน  จังหวัดสมุทรสาคร

(๓)  ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านกลางตำบลทำให้หมู่บ้านตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำ

(๔)  จำนวนหมู่บ้าน ตำบลท่าไม้แบ่งการปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านปล่องเหลี่ยม                
หมู่ที่
2 บ้านโรงปูน                      
หมู่ที่
3 บ้านท่าไม้                        
หมู่ที่
4  บ้านหัวแค                        
หมู่ที่
5 บ้านคลองแค 1                         
หมู่ที่
6 บ้านคลองแค 2                    
หมู่ที่ 7 บ้านตลาดท้องคุ้ง
 หมู่ที่ 8 บ้านคลองโรงหมู
หมู่ที่ 9 บ้านโรงหีบ   
หมู่ที่ 10 บ้านอ่าวกระบือ
หมู่ที่ 11 บ้านกงสีล้ง           
หมู่ที่ 12 บ้านท่าไม้งาม    

ประวัติตำบลท่าไม้

 ตำบลท่าไม้ เป็นหนึ่งในจำนวน 8 ตำบลของอำเภอกระทุ่มแบน ซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ.115 ( พ.ศ.2439)  เล่ากันว่าเมื่อครั้งก่อนเคยเป็นท่าที่นำไม้ขึ้นลงจนกลายเป็นชุมชน และให้ชื่อว่า ตำบลท่าไม้” จนมาทั่งทุกวันนี้

ส่วนประวัติของตำบลท่าไม้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เล่ากันว่า

    ณ ตำบลหนึ่งในเขตเมืองสาครบุรี (คือตำบลท่าไม้ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นเมืองชายทะเลอยู่ทางตอนใต้ของกรุงศรีอยุธยา มีพวกอพยพหนีภัยสงครามกลุ่มหนึ่งเดินมาถึงสถานที่ริมน้ำ ท่าจีน แห่งหนึ่ง ในขณะที่พวกเขาพักผ่อนเตรียมหุงหาอาหารกันอยู่นั้น บังเอิญมีกองทหารลาดตระเวนของพม่ากลุ่มหนึ่งผ่านมาจึงเกิดการต่อสู้กันขึ้น พวกเด็ก ผู้หญิง และคนแก่ตกใจร้องไห้กันเสียงระงมวิ่งหนีหาที่หลบภัยกันอย่างหัวซุกหัวซุน ซึ่งเป็นการสู้รบที่ดุเดือด คนไทยแม้จะไม่มีอาวุธแต่ก็ต่อสู่จนสุดหัวใจ

    ภายในโบสถ์ชำรุดเก่าแก่หลังหนึ่งบริเวณใกล้ๆ กันนั้นเอง มีหญิงสาวสองพี่น้อง หนีพม่าเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ หญิงทั้งสองมีความกลัวมากไม่รู้ว่าจะช่วยตัวเองอย่างไร จึงตั้งจิตอธิฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ ที่นั้นว่า หากรอดพ้นจากภัยในครั้งนี้ จะบูรณะซ่อมแซมโบสถ์หลังนี้ และจะสร้างวัดไว้ ณ ที่นี้ด้วย

    เป็นที่น่าประหลาดใจว่าพอสิ้นคำอธิฐาน เสียงการต่อสู้ก็ยุติลง หญิงสาวทั้งสองรอจนแน่ใจว่าพวกพม่าไปหมดแล้ว จึงออกมาจากที่หลบซ่อน และสอบถามได้ความว่า ขณะสู้รบกันนั้นหัวหน้าพวกพม่าถูกฆ่าตาย ทหารที่เหลือเสียขวัญหนีกระจัดกระจายกันไปหมดสิ้น เมื่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยมั่นคงดีแล้ว หญิงสาวคนน้องจึงคิดที่จะทำตามคำอธิฐาน แต่หญิงคนพี่ได้คัดค้านว่าโบสถ์หลังนี้ชำรุดและเก่าแก่มาแล้ว คงจะบูรณะซ่อมแซมได้ยาก ให้ไปหาสถานที่ซึ่งเหมาะสมกว่านี้สร้างโบสถ์สร้างวัดจะดีกว่า ทั้งสองได้โต้เถียงเรื่องนี้กันเรื่อยๆมาไม่เป็นอันยุติ

    ต่อมาหญิงสาวคนพี่ได้แต่งงานกับเศรษฐีหนุ่มคนหนึ่ง แล้วย้ายบ้านไปอยู่กับสามี ซึ่งอยู่เหนือบ้านเดิมของเธอขึ้นไปทั้งสอง สามีภรรยาจึงได้สร้างวัดขึ้นมาวันหนึ่งให้ชื่อว่า วัดกกเตย” ส่วนฝ่ายหญิงสาวคนน้องไม่ได้แต่งงานเป็นโสดตลอดมา และตั้งสัตย์อธิฐานว่า จะไม่ยอมแต่งงานจนกว่าจะบูรณะโบสถ์หลังนี้เสร็จ และสร้างวัดใหม่ให้ได้ ด้วยความร่วมมือจากชาวบ้านที่มีความศรัทธา และนับถือในความมีสัจจะของหญิงสาวผู้น้อง โบสถ์ และวัดของหญิงสาวผู้น้องจึงสำเร็จลง ชาวบ้านพร้อมใจกันให้ชื่อว่า วัดพรหมจารีย์ราม” ( พรหมจารีย์ หมายถึง หญิงสาวยังบริสุทธิ์ ) เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้หญิงสาวผู้น้อง แต่ชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า วัดน้องสาว” เพราะเรียกง่ายกว่า วันเวลาผ่านไป ชาวบ้านดั่งเดิมก็ล้มหายตายจากไปเหลือแต่ลูกหลานที่ยังคงทำมาหากินและดำรงชีวิตสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน

 

    ครั้งหนึ่ง ปี พ.ศ. 2485  ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ ระดับน้ำสูงจนมิดหลังคาแต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าโบสถ์ของ "วัดน้องสาว" น้ำไม่ท่วม ชาวบ้านแถบนั้นจึงพากันอพยพเข้ามาพักอาศัยในโบสถ์หลังนั้น เมื่อน้ำลด โบสถ์หลังนี้ก็กลายเป็นที่เลื่องลือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิปาฏิหาริย์  บางคนว่ามีถ้ำจระเข้อยู่ใต้โบสถ์ ชาวบ้านทั้งใกล้-ไกล พอทราบข่าวก็เดินทางมาเคารพสักการะและตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณนั้นกันอย่างหนาแน่น วัดนี้จึงดำรงความรุ่งเรืองตลอดมา เพราะความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน บางคนกล่าวว่า มีพม่าถูกควายขวิดแล้วหนีเข้ามาในโบสถ์ รอยเลือดนั้นยังคงติดอยู่ที่ผนังโบสถ์ ปัจจุบันรอยนั้นได้เลือดรางไป วัดนี้ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในนามว่า วัดนางสาว” ทั้งนี้สันนิฐานว่าคงเพี้ยนมาจากคำว่า วัดน้องสาว” นั้นเอง เมื่อมีผู้คนอพยพมาอยู่มากขึ้นก็กลายเป็นชุมชน มีชื่อว่า ตำบลท่าไม้” ต่อมา วัดกกเตย” ได้สูญหายไปเข้าว่ากลายเป็นวัดร้าง



ไฟล์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ประวัติความเป็นมา



ภาพที่เกี่ยวข้อง ประวัติความเป็นมา